วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

มะละกอ

ตื่นตาแปลง"มะละกอฮอลแลนด์"สวนเงินล้าน "อนุพงษ์ จงใจลาน"

"อุ๊ย! ดกจังเลย" เสียงหนึ่งของทีมงานอุทานออกมาราวกับยังไม่ผ่านการกลั่นกรองจากส่วนใดของโสตประสาท พลันทีที่เห็นผลมะละกอเกาะกลุ่มหุ้มลำต้นตั้งแต่โคนต้นเกือบถึงปลายยอดราวกับฝูงปลิงที่เกาะขากระบือ ทำให้ทุกคนหันไปมองในจุดเดียวกัน


 ทุกคนฉงนและตื่นตากับความดกของผลมะละกอที่ อนุพงษ์ จงใจลาน นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ต.มะนาวหวาน อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี ปลูกบนเนื้อที่ราว 25 ไร่ ใกล้บ้านพักเนื่องเพราะปัจจุบันยากต่อการที่จะพบเห็นสวนมะละกอที่รอดพ้นจากโรคไวรัสใบด่างจุดวงแหวน และเพลี้ยแป้ง จนถึงขนาดมีลำต้นที่อุดมสมบูรณ์และออกผลผลิตที่ดกเช่นนี้
 ที่สำคัญต้นมะละกอที่ทุกคนแลเห็นมีอายุกว่า 1 ปีแล้ว เป็นมะละกอรุ่นที่ 4 แต่ต้นมะละกอยังคงสภาพที่สมบูรณ์ และจากความสมบูรณ์ของต้นมะละกอนี้เอง ทำให้แต่ละรุ่น อนุพงษ์ โกยเงินเข้ากระเป๋ารุ่นละถึงหลักล้านบาททีเดียว
 เดิมทีไร่มะละกอแห่งนี้ อนุพงษ์ กับ ประภา จงใจลาน ซึ่งเป็นภรรยา ทำไร่อ้อย ส่งเข้าโรงงานน้ำตาลของบริษัท น้ำตาลสระบุรี จำกัด ซึ่งประภาทำงานอยู่ฝ่ายจัดซื้อของบริษัทแห่งนี้ มีเนื้อที่ปลูกอ้อยทั้งหมดกว่า 100 ไร่ ทำไร่อ้อยมาราว 20 ปีแล้ว กระทั่งประภาได้อ่านนิตยสารด้านการเกษตรฉบับหนึ่ง (รักษ์เกษตร) เมื่อ 3 ปีก่อน ที่ตีพิมพ์เรื่องมะละกอที่บ้านนาล้อม จ.สุพรรณบุรี จึงเกิดความสนใจขึ้นมา จึงเดินทางไปที่บ้านนาล้อมเพื่อศึกษาข้อมูลในการปลูกมะละกอ จากนั้นลองปลูกมะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์ แปลงแรกกว่า 10 ไร่ ในปี 2549 และผลผลิตที่ได้มาก็ส่งขายที่บ้านนาล้อมนั่นเอง

 "ตอนแรกว่าจะปลูก 20 ไร่ แต่พอไปซื้อเมล็ดพันธุ์มะละกอที่บ้านนาล้อมได้มา 5 หมื่นเมล็ด แต่กว่าจะได้ 5 หมื่นเมล็ด ต้องสั่งซื้อถึง 2-3 ครั้ง เพราะเมล็ดพันธุ์ไม่พอ จึงปลูกไว้เพียง 10 ไร่ ใช้เงินทุนทั้งหมด 6 แสนบาท ปลูกครั้งแรกต้องซ่อมใหม่อีก เพราะบางครั้งเมื่อปลูกไปแล้วเป็นมะละกอมีเพศที่ไม่ต้องการคือเพศผู้ ผลผลิตไม่สวย รูปทรงกลม ตลาดไม่ต้องการ ต้องคัดทิ้ง จะคงไว้ต้นกะเทยซึ่งจะมีเกสรตัวผู้ในดอกเดียวกัน เวลาออกผลจะยาวเรียว สวยงามเป็นที่ต้องการของตลาด เมื่อคัดแล้วรุ่นแรก ต้นมะละกอเติบโตจนสามารถเก็บผลผลิตได้เพียง 4,000 ต้นเท่านั้น" ประภากล่าว
 อย่างไรก็ตาม ประภายอมรับว่า การปลูกมะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์ปีแรกถือว่าประสบความสำเร็จอย่างงดงาม เพราะมะละกอที่ปลูกแปลงแรก 10 ไร่ ได้ผลผลิตถึง 150 ตัน เก็บได้ 1 ปีครึ่ง พอเริ่มมีเพลี้ยแป้งลงจะตัดต้นทิ้งทันที ปีถัดมาเก็บเมล็ดพันธุ์เองในสวน โดยคัดจากต้นที่สมบูรณ์ ให้ผลผลิตดี พอปลูกขึ้นมาพบว่าเมล็ดงอกดีและมีเปอร์เซ็นต์เป็นต้นกระเทยเกือบ 100%
 ด้าน อนุพงษ์ บอกว่า การปลูกมะละกอหลายคนแทบไม่เชื่อเลยว่ามะละกอรุ่นแรกที่ปลูกปี 2549 ส่งขายที่บ้านนาล้อมในราคาประกันเพื่อป้อนตลาดบน จึงมีการคัดเป็น 3 เกรด คือเกรดเอ เกรดบีบี และเกรดซี ราคาตั้งแต่ กก.ละ 8-15 บาท ที่เหลือเป็นมะละกอตกเกรด ไม่ได้เงินเลยเพราะต้องทิ้งไป ตอนหลังจึงเปลี่ยนมาส่งให้แม่ค้าตลาดไทแทน ราคาถูกกว่าแต่ก็ไม่ต้องคัดเกรด
 "มะละกอแปลงแรก 10 ไร่ ที่ส่งให้บ้านนาล้อมก็ได้เงินหลักล้านเหมือนกัน พอแปลงที่ 2 ปลูก 12 ไร่ มะละกอติดผลดกมากๆ แต่พลาดตรงที่ให้น้ำมากเกินไปทำให้มะละกอไม่หวาน ตอนนั้นมะละกอหวานแค่ 8-9 บริกซ์ จากปกติต้องหวาน 12-13 บริกซ์ขึ้นไป จึงส่งให้บ้านนาล้อมส่วนหนึ่งได้เงินมา 7 แสนบาท ที่เหลือส่งเข้าโรงงานแปรรูปในราคา กก.ละ 4-5 บาท พอรุ่นต่อมาส่งให้แม่ค้าที่ตลาดไท มาถึงรุ่นที่ 3 ปลูกในพื้นที่ 20 ไร่ เก็บผลผลิตอาทิตย์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 10 ตัน จะเก็บได้ครั้งละ 10 ตัน ประมาณ 8 ครั้ง จากนั้นก็จะเริ่มลดลงเหลือ 8 ตัน 7 ตัน 6 ตัน ลดลงมาเรื่อยๆ จนถึง 1 ตัน อย่างแปลงนี้เก็บมาได้ 270 ตัน แล้วส่งตลาดไททั้งหมดในราคาที่ไม่คัด กก.ละ 10 บาท ได้เงินมากว่า 2 ล้าน หากเทียบกับการปลูกอ้อยมา 20 ปีแล้วในพื้นที่ 100 ไร่ สู้ปลูกมาละกอ 20 ไร่ไม่ได้เลย" อนุพงษ์ กล่าว
 กระนั้นยังยอมรับว่าการปลูกมะละกอรุ่นแรกต้นสูงพอสมควร อย่างเขาปลูกรุ่นแรกในพื้นที่ 10 ไร่ ใช้เงินทุนถึง 6 แสนบาท เพราะต้องลงทุนเรื่องระบบน้ำด้วย ค่าปุ๋ย ค่ายาต่างๆ รวมถึงค่าแรงงานด้วย อีกอย่างในปีแรกเขาขาดประสบการณ์ด้วย จึงต้องลงทุนใหม่ทุกอย่างรวมถึงลงทุนแบบลองผิดลองถูกที่ถือว่าซื้อความรู้ด้วย แต่พอรุ่นสองก็ใช้อุปกรณ์เดิมได้โดยเฉพาะระบบน้ำต้นทุนจึงลดลงแทบไม่ต้องลงทุนอะไรมากมาย นอกจากปุ๋ยซึ่งต้องใชปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ผสมผสานกัน อยู่ในอัตราที่เหมาะสม
 "สวนผมค่อนข้างลงทุน เพราะต้องการผลผลิตที่มีคุณภาพ อย่างแปลงที่ปลูกใหม่ 25 ไร่ ลงทุนไปกว่า 2 แสนบาทแล้ว เพราะมีระบบน้ำที่ต้องซื้อเพิ่มเติมจากที่เราขยายพื้นที่มากขึ้น ค่าแรงหนักหน่อย ต้องจ่ายวันละ 2,000-3,000 บาท เพราะผมและแฟนมีเวลาให้งานประจำต้องจ้างทุกอย่างตั้งแต่ขุดหลุมปลูก เอาปุ๋ยรองก้นหลุม แต่ก็คุ้ม" อนุพงษ์ กล่าวอย่างมั่นใจ
 สำหรับการปลูกมะละกอที่จะให้ผลผลิตดีนั้น อนุพงษ์ บอกว่า เริ่มต้นจากเพาะกล้ามะละกอก่อน โดยคลุกเมล็ดกับยาป้องกันโรครากเน่าโคนเน่า อาทิ ใช้เมทาแลกซิล พอมะละกอโตได้สักระยะหนึ่ง ย้ายลงหลุมปลูก 1 หลุ่มปลูก 4-5 ต้น ใช้ระยะห่างแต่ละหลุ่ม 3x3 เมตร ระยะแรกระบบน้ำจะใช้เจ็ทสเปรย์ ส่วนปุ๋ยเค ใช้สูตรเสมอ 16-16-16 ปลูกได้ประมาณ 3 เดือน มะละกอก็จะเริ่มออกดอก จึงคัดต้นที่เป็นต้นกะเทยไว้ ให้เหลือหลุ่มละ 1 ต้น การให้น้ำเปลี่ยนมาใช้ระบบสปริงเกอร์ทุกวัน ส่วนปุ๋ยให้แค่เดือนละครั้ง เป็นสูตร 8-24-24 พื้นที่ 20 ไร่ ให้ครั้งละ 1 ตัน หรือ 20 กระสอบ (กระสอบละ  50 กก.)   พอมะละกออายุได้ 8 เดือน เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว ระหว่างให้ผลผลิตควรให้ปุ๋ยเกล็ดบ้างอาทิตย์ละครั้งในอัตราปุ๋ยเกล็ด 400 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร
 ทั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการแวะชมการปลูกมะละกอของอนุพงษ์ และประภา จงใจลาน หากใครสนใจทั้งสองยินดีแนะนำในเรื่องการปลูกมะละกอให้ แวะที่หมู่ 3 ต.มะนาวหวาน อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี

งานไม้ไผ่

ไผ่ที่นิยมปลูกกันแบ่งได้ดังนี้คือ  ไผ่ที่ปลูกเพื่อใช้ลำของไม้ไผ่และไผ่ที่ปลูกเพื่อการบริโภคหน่อโดยมีรายละเอียดดังนี้

1.
ไผ่ที่นิยมปลูกเพื่อใช้ลำ   การปลูกไผ่เพื่อใช้ลำ   เกษตรกรต้องการคือปลูกไว้กันลม  รอบๆที่  ไม่ได้หวังหน่อ  ไม้ไผ่ที่เลือกใช้ควรจะลู่ลมไม่ต้านลม  สังเกตุไผ่ที่ลู่ลมคือจะต้องไม่มีกิ่งแขนงยาวเกินไปและไม่มีกิ่งแขนงมากนัก  แต่ก็ยังสามารถตัดไม้ไผ่มาขายหรือใช้สอยในสวนได้   แต่ก็มีเกษตรกรอีกกลุ่มหนึ่งที่ปลูกเป็นสวนเพื่อต้องการขายไม้ไผ่  เกษตรกรกลุ่มนี้คือมีที่ดินเหลือจากการปลูกพืชชนิดอื่นๆ    หรือมีที่ดินมาก  ปลูกพืชอื่นก็ต้องดูแลมาก 


          1.1
ไผ่รวกดำ   เป็นไผ่ที่ปลูกเพื่อใฃ้ลำกัน  โดยส่วนใหญ่จะปลูกกันอยู่ทางเหนือของไทยมากที่สุด    หน่อรัปประทานได้   แต่ต้องต้มให้หายขมก่อน   พบมากที่ จ.น่าน  จ.พะเยา จ.เชียงราย  มีพ่อค้าจากทางตะวันออกและภาคกลางมาซื้ออยู่ที่ลำละ  10-13  บาทนำไปปักหอยเพราะทนต่อสภาพน้ำเค็มได้ดี   เนื้อไม้แข็งแรงมาก   แต่ไผ่รวกดำก็สามารถปลูกได้ที่พื้นที่ของประเทศไทย    ถ้าเกษตรกรมีปลูกพืชอื่นๆอยู่และต้องการปลูกไผ่เป็นไม้บังลมรอบๆที่ดิน  ก็สามารถใช้ไผ่รวกดำได้   ถ้าปลูกรอบๆที่ดินใช้ระยะปลูกอยู่ที่ระยะระหว่างต้น   2 เมตรปลูกแถวเดียวครับ   ไผรวกดำเป็นไผ่ลู่ลำเพราะกิ่งแขนงและใบน้อย  ไม่ต้านลำ เมื่อปลูกแล้วจะไม่โค่นเมื่อมีลำมาปะทะ     การออกหน่อของไผ่รวกดำจะออกมากในฤดูฝนตกชุก 
         
แต่เกษตรกรที่ต้องการปลูกไผ่รวกดำทั้งแปลงจะใช้ระยะอยู่ที่   ระยะระหว่างต้น  2.5  เมตร  ระยะระหว่างแถว  4  เมตร  พื้นที่  1  ไร่จะใช้ต้นพันธุ์  180  ต้น  การปลูกจะตัดไม้ใช้สอยหรือขายได้ในปีที่  4  หลังจากปลูก  ต่อไปตัดได้ทุกๆปี  โดยเลือกตัดไม้แก่ที่เกิดก่อนออกไปครับ   ไผ่รวกนิยมขยายพันธุ์โดยการขุดแยกเหง้าครับ


          1.2
กลุ่มไผ่เลี้ยง  มีไผ่เลี้ยงใหญ่   ไผ่เลี้ยงทางเหนือ  ไผ่เลี้ยงสีทอง    ไผ่เลี้ยงสีทอง(บางที่เรียกไผ่เลี้ยงหวาน,ไผ่เลี้ยง 3 ฤดู ,ไผ่หวาน,ไผ่เลี้ยงทะวาย) เป็นไผ่เลี้ยงที่มีลำต้นสูงไม่เกิน  5  เมตร  เส้นผ่าศูนย์กลางไม้  1.5-2  นิ้ว  ลำต้นไม่มีรูกลางลำ   ส่วนไผ่เลี้ยงใหญ่และไผ่เลี้ยงทางเหนือความสูงของกอ  12  เมตรขึ้นไป  เส้นผ่าศูนย์กลางลำ  2-2.5  นิ้วการปลูกไผ่เลี้ยง  ถ้าเป็นเป็นไม้กันลมทำได้ดีมาก  เพราะใบและกิ่งเป็นแบบลู่ลม  ไม่ต้านลม  การปลูกหากปลูกแถวเดี่ยวจะใช้ระยะระหว่างต้น  2  เมตรถึง  2.5  เมตร  แต่ถ้าจะปลูกเป็นแปลงใหญ่ให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น  2.5  เมตร ระยะระหว่างแถว  4  เมตร  ใช้ต้นพันธุ์ไร่ละ  180  ต้น  เริ่มเก็บหน่อไว้ทำอาหารหรือขายได้ในปีที่  2  หลังจากปลูก  อาหารที่นิยมใช้ไผ่เลี้ยงทำ  คือต้มทำซุปหน่อไม้  หรือทำหน่อไม้ในถุงพลาสติกเก็บไว้ขายนอกฤดู  เป็นต้น  ส่วนลำ  จะเริ่มตัดขายได้เมื่อปลูกได้  4  ปีไปแล้ว โดยจะตัดลำที่แก่ก่อน  ถ้าเป็นไผ่เลี้ยงใหญ่และไผ่เลี้ยงทางเหนือจะขายลำละ  10-13  บาท  แต่ถ้าเป็นไผ่เลี้ยงสีทอง(ลำสั้นกว่า) จะขายได้ลำละ  1-3  บาท  จะเห็นว่าเกษตรกรปลูกไผ่เป็นแนวรั้วแค่เป็นไม้ใช้สอยก็สามารถมีรายได้จากการขายหน่อและลำได้  ถ้าเกษตรกรมีพื้นที่ทำกินเช่น  20  ไร่ถ้าปลูกไผ่รอบรั้วก็ได้หลายร้อยกอแล้ว  ตัดไม้กอละ  10  ลำต่อกอต่อปี  รวมๆแล้วก็ได้ไม้มากพอที่จะเป็นรายได้ส่วนหนึ่งครับ   ไผ่เลี้ยงทุกชนิด  ขยายพันธุ์ได้ดีคือการขุดเหง้าและรองลงมาคือการตอนกิ่งแขนงข้าง

ไผ่เลี้ยงใหญ่
ไผ่เลี้ยงสีทองหรือไผ่เลี้ยงหวาน

          1.3
ไผ่ซาง  เป็นไผ่ที่นิยมปลูกกันมาก  และพบมากในป่าทางภาคเหนือของประเทศไทย  มีเส้นผ่าศูนย์กลางลำ   3-8  นิ้ว  ลำสูง  15-25  เมตร   หน่อรับประทานได้ดี  ถ้าหน่อใต้ดินจะมีรสหวาน  แต่ถ้าถูกอากาศหรือเก็บไว้ข้ามวันจะมีรสขมมาก  นิยมนำไปต้มแล้วจิ้มน้ำพริก  หรือทำยำหน่อไม้   ส่วนลำใช้ประโยชน์ได้มากมาย  ทำไม้ค้างก่อสร้าง  ทำตะเกียบ  ไม้เสียบอาหาร  ทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่ตั้งแต่ชิ้นเล็กจนชิ้นใหญ่  ส่งออกไปต่างประเทศมากมาย  ทำบ้านไม้ไผ่    เศษซากจากการแปรรูป  ข้อไม้นำไปเผาถ่านหรือทำชีวมวลให้โรงไฟฟ้า  และทำกระดาษ  เป็นต้น   นับว่าอุตสาหกรรมจากไม้ไผ่ที่เกิดขึ้นจะใช้ไผ่ซางมากที่สุด  พบมีโรงงานแบบใช้แรงงานในครัวเรือนทำตะเกียบและไม้เสียบอาหารมากที่สุดที่  จ.แพร่  จ.ลำปาง  จ.อุตรดิตถ์  จ.พะเยา   และจ.น่าน  ไผ่ซางนิยมขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่งแขนงข้าง
          -
ไผ่ซางนวล D.  membranaceus  เป็นไผ่ที่พบอยู่ตามป่า หรือเรียกว่าซางป่า  ใบจะมีขนาดเล็กเหมือนไผ่เลี้ยงไผ่รวก  ในป่าพบว่ามีการตายขุยและได้ต้นที่งอกใหม่จากเมล็ด  มีความแปรปรวนหลายลักษณะอยู่ในป่า  ชาวบ้านที่ไปตัดจากป่ามาใช้งานก็จะเลือกตัดเอาแต่ต้นที่ใช้ได้ลำตรง ลำสวย  กอที่ให้ลำไม่ดี  ลำเล็ก ลำไม่ตรงก็จะไม่ได้ตัด  เนื้อไม้จะไม่หนามากนัก  จะต้องปลูกเป็นกลุ่มถึงจะตรง  จะปลูกเป็นไม้ริมรั้วไม่ได้เพราะถ้าปลูกเดี่ยวๆจะไม่ตรง  ต้องอยู่กับไม้อื่นๆถึงจะตรง  หากเกษตรกรจะต้องการปลูกไผ่ซางนวลจะต้องคัดเลือกสายพันธุ์ที่ดีที่สุดจากป่ามาก่อนแล้วค่อยขยายพันธุ์เพิ่มปริมาณโดยการตอน  ไม่นิยมนำเมล็ดมาปลูกโดยตรงเพราะจะกลายพันธุ์มาก  หากเกษตรกรจะต้องการปลูกไผ่ซางนวบควรใช้ระยะที่  4  เมตรคูณ  4  เมตร  พื้นที่  1  ไร่จะได้ไผ่  100  กอ
          -
ไผ่ซางดำหรือไผ่ซางหวาน  D.strictus   เป็นไผ่ที่ถูกคัดเลือกโดยธรรมชาติที่ให้ลักษณะที่ดีแล้ว    ใบใหญ่พอๆกับไผ่กิมซุ่ง ต่างจากไผ่ซางป่ามาก   ลำสีเขียวเข้ม  ขนาดลำจะใหญ่กว่าไผ่ซางนวล   ลำตรงเปลา  เนื้อไม้หนากว่าซางนวล  ปลูกกอเดี่ยวๆยังสามารถให้ลำที่ตรงไม้โค้ง  สามารถปลูกเป็นไม้กันลมหรือไม้ริมรั้วได้ดี  เพราะไม่ต้านลม    ถ้าปลูกเป็นไม้ริมรั้วควรปลูกเป็นแถวเดี่ยว  ใช้ระยะระหว่างต้น  3-4  เมตรไปตามแนวรั้ว  และควรห่างจากรั้ว  3-4  เมตรเพื่อจะได้ไม่ไปรบกวนเพื่อนบ้าน  แต่ถ้าปลูกเป็นแปลงใหญ่จะใช้ระยะระหว่างต้น  5  เมตร  ระยะระหว่างแถว  5  เมตร   พื้นที่  1  ไร่จะปลูกได้  64  กอ(ต้น)  หน่อของไผ่ซางดำจะให้รสชาติที่ดีกว่าไผ่ซางทุกชนิด  นิยมนำมาแกงสดๆเป็นแกงพื้นเมืองหรือแกงเปอะ  ตัดหน่อได้เมื่อปลูกได้     1  ปีขึ้นไป  ส่วนการตัดลำไม้จะตัดได้เมื่อปลูกได้  4  ปีขึ้นไป  ไม้ที่โคนจะหนา  กว่ากลางลำ  ปรกติจะซื้อขายลำที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง  4  นิ้วขึ้นไปโดยตัดส่วนโคนลำ  2  เมตรขายให้กับโรงงานเฟอรืนิเจอร์  ท่อนละ  120  บาท ส่วนกลางลำตัดขายได้  ตันละ  800  บาทให้โรงงานทำตะเกียบ  ส่วนปลายลำ  ขายให้โรงงานไม้เสียบอาหาร  ต้นละ  1,000  บาท   และเศษซางที่เหลือขายให้โรงงานทำเยื่อกระดาษ  ตันละ  500  บาท   ส่วนใบนำไปทำปุ๋ยดินขุ๋ยไผ่   การขยายพันธุ์ไผ่ซางดำจะใช้วิธีการตอนกิ่งแขนงข้าง
          -
ไผ่ซางหม่น  D.  sericeus  ในปัจจุบันเกษตรกรยังสบสนระหว่างไผ่ซางหม่นกับซางนวล   ไผ่ซางหม่นใบจะใหญ่พอๆกับไผ่ซางดำ หรือใบไผ่กิมซุ่ง  แต่ใบไผ่ซางนวลจะใบเล็กกว่ามาก  ใบไผ่ซางนวลจะเท่าๆกับใบของไผ่รวก   และลำก็ต่างไผ่ซางหม่นลำจะมีแป้งมาก  ไผ่ซางนวลแป้งจะน้อยกว่า  ไผ่ซางหม่นพบที่ป่าทางภาคเหนือของไทยมากที่สุด  ในเขตน่าน -แพร่-อุตรดิตถ์  จะพบเป็นไผ่ซางหม่นอีกชนิดหนึ่ง ลำมีเส้นผ่าศูนย์กลาง  4-6 นิ้ว  แต่ลำจะสูงมาก  และมีผู้ขายพันธุ์ตั้งชื่อการค้าหลายชื่อทำให้เกษตรกรสับสน  ชื่อการค้าที่พบคือ  ไผ่ซางนวลราชีนี  ไผ่ซาง  3  สายพันธุ์  ไผ่ซางหม่นแพร่  สอบถามผู้ที่ทำพันธุ์ไผ่ซางหม่นในจ.อุตรดิตถ์เป็นรายแรกๆ  คุณประดับ  บอกว่านำสายพันธุ์มาจาก  บ้านห้วยม้า  ต.ห้วยม้า  จ.แพร่   ไผ่ซางหม่นลำละตรงเปลาแม้ว่าจะปลูกกอเดี่ยวๆ  เช่นเดียวกับไผ่ซางดำ  เนื้อไม้ไผ่ซางหม่นหนาที่โคนมาก  และทั้งลำยังหนากว่าไผ่ซางทุกสายพันธุ์  เป็นที่ต้องการของผู้ที่จะนำไปแปรรูปไม้ไผ่มาก  เช่นทำบ้านไม้ไผ่และเฟอร์นิเจอร์    ไผ่ซางหม่นสายพันธุ์นี้สามรถปลูกเป็นไม้กันลมได้ดี  เพราะกิ่งและใบไม่ต้านลม  ควรปลูกที่ระยะระหว่างต้นที่  3-4 เมตร  ถ้าปลูกเป็นแปลงใหญ่ควรใช้ระยะ ระหว่างต้น  5  เมตร  ระยะระหว่างแถว  6  เมตร จะได้ไม้ยาวและลำใหญ่  นอกจากนี้ยังมีไผ่ซางหม่นสายพันธุ์จาก  อำเภอเชียงดาว   พบว่าเป็นต่างสายพันธุ์จากของแพร่  มีผู้ตั้งชื่อการค้าว่า  พันธุ์สูงเสียดฟ้า หรือเรียกไผ่ซางหม่นยักษ์  ไผ่ซางหม่นสายพันธุ์จากเชียงดาวพบโดยคุณลุงสมจิตร   เป็นไผ่ซางหม่นที่ใบใหญ่เช่นเดียวกัน  แต่ลำมีเส้นผ่าศูนกลาง  4-8  นิ้วจะใหญ่กว่าทางซางหม่นสายพันธุ์แพร่   เนื้อไม้หนามาก  มีความแข็ง  ทนทาน  ข้อถี่กว่าซางหม่นของแพร่   เกษตรกรควรใช้ระยะระหว่างต้นที่  6  เมตร ระยะระหว่างแถวที่  6  เมตร จะทำให้ได้ลำที่ใหญ่  ถ้าต้องการลำเล็กกว่านี้ก็ปลูกถึ่ขึ้นได้  ลำของไผ่ซางหม่นแยกขายเช่นเดียวกับไผ่ซางดำ  มีรายได้รวมต่อลำได้ไม่ต่ำกว่าลำละ  200  บาทเพราะมีน้ำหนักดี  เป็นที่ต้องการของผู้ที่แปรรูปไม้ไผ่เช่นกัน  การขยายพันธุ์ไผ่ซางหม่นนิยมใช้การตอนกิ่งแขนงข้างดีที่สุด  รองลงมาคือชำลำแบบแนวนอน    ไม่ว่าเกษตรกรจะปลูกตามแนวรั้วหรือปลูกเป็นแปลงใหญ่  สามารถเก็บหน่อได้หลังจากปลูกไปได้  1  ปี  และจะตัดขายลำได้เมื่อปลูกไปได้  4  ปี  และจะตัดไม้ได้ตลอดทุกๆปี

         
การปลูกไผ่เพื่อขายลำ  จะเหมาะกับเกษตรกรที่มีที่ดินมากๆ  และมีรายได้จากทางอื่น   ไม่เดือดร้อนที่จะต้องรีบเก็บเกียวเพื่อจะให้ได้เงินไวๆ  สามารถปลูกได้หมดทั้งที่ดิน  เพราะการดูแลง่ายไม่ต้องไปห่วงตัดหน่อ  และไม่ต้องห่วงว่าจะได้รายได้เร็ว  การปลูกไผ่เพื่อขายไม้นี้จะต้องปลูกจนไผ่มีอายุได้  4-5  ปีจึงจะตัดไม้ได้ทุกปีโดยเลือกตัดลำที่แก่กว่า   รายได้จากการขายไม้ไผ่โดยที่ไม่ได้แปรรูป  ถ้าเลื่อกปลูกไผ่ซางหม่นหรือไผ่ซางหวานจะมีรายได้จากการขายลำไม้ไร่ละไม่ต่ำกว่า   500  ลำ  ๆละ  100  บาท  จะมีรายได้ไม่ต่ำกว่า  50,000  บาทต่อไร่ต่อปี    แต่ถ้ามีทุนนำไม้ที่ปลูกมาทำบ้านไม้ไผ่ขายออกแบบดีๆ  ป้องกันมอดได้ดี  รายได้จากใช้ประโยขน์จากไม้ไผ่จะมากขึ้น
 
ไม้ไผ่ เป็นไม้ที่ขึ้นง่ายและเติบโตเร็ว ขึ้นได้ดีในทุกสภาวะอากาศดำรงอยู่ได้ในพื้นดินทุกชนิด ที่สำคัญคือ ไผ่เป็นพันธุ์ไม้ที่อำนวยประโยชน์หลายประการ ทั้งประโยชน์ทางตรงและทางอ้อม และเป็นพืชที่ลำต้นกิ่งมีลักษณะแปลกสวยงาม ไผ่เป็นไม้ที่ตายยาก ถ้าไผ่ออกดอกเมื่อใดจึงจะตาย แต่ก็ยากมากและนานมากที่ไผ่จะออกดอก ไม้ไผ่มีประโยชน์มากกับคนเราคนเราสามารถนำไม้ไผ่มาสร้างบ้านที่อยู่อาศัย  และทำเครื่องจักสานอื่นๆอีกมากมายสำหรับไม่ไผ่นั้นใช้ได้ทุกส่วนตั้งแต่ หน่อ ลำต้น ใบ ราก เยื่อไผ่ ขุยไผ่ มีประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวัน  ในปัจจุบันเราสามารถนำไม้ไผ่มาจักรสานทำเป็นอาชีพหารายได้ให้แก่ครอบครัว และยังเป็นงานที่เราส่งออกไปขายอยู่นอกประเทศสำหรับคนไทยเราแล้ว งานที่ใช้ฝีมือถือว่าเป็นงานที่ประณีตระเอียดและสวยงามมาก
ประโยชน์ของไม้ไผ่
1.  
ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ
-  
ป้องกันการพังทลายของดินตามริมฝั่ง
-   
ช่วยเป็นแนวป้องกันลมพายุ
-   
ชะลอความเร็วของกระแสน้ำป่าเมื่อฤดูน้ำหลากกันภาวะน้ำท่วมฉับพลัน
-   
ให้ความร่มรื่น
-   
ใช้ประดับสวน จัดแต่งเป็นมุมพักผ่อนหย่อนใจในบ้านเรือน
2.  
ประโยชน์จากลักษณะทางฟิสิกส์ จากความแข็งแรง ความเหนียว การยืดหด ความโค้งงอ และการสปริงตัว ซึ่งเป็นคุณลักษณะประจำตัวของไม้ไผ่ เราสามารถนำมันมาใช้เป็นวัสดุเสริมในงานคอนกรีต และเป็นส่วนต่างๆ ของการสร้างที่อยู่อาศัยแบบประหยัดได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
3.  
ประโยชน์จากลักษณะทางเคมีของไม้ไผ่
-
เนื้อไผ่ใช้บดเป็นเยื่อกระดาษ
-
เส้นไยใช้ทำไหมเทียม
-
เนื้อไผ่บางชนิดสามารถสกัดทำยารักษาโรคได้
-
ใช้ในงานอุตสาหกรรมนานาชนิด
4  
การใช้ไม้ไผ่ในผลิตภัณฑ์หัตถกรรม และอุสาหกรรม  แบ่งออกได้   ดังนี้        ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานจากเส้นตอก ได้แก่ กระจาด  กระบุง  กระด้ง  กระเช้าผลไม้  ตะกร้าจ่ายตลาด  ชะลอม  ตะกร้าใส่ขยะ  กระเป๋าถือสตรี   เข่งใส่ขยะ  เครื่องมือจับสัตว์น้ำ เช่น ข้องใส่ปลา  ลอบ  ไซ ฯลฯ ผลิตภัณฑ์จากลำต้น และกิ่งของไม้ไผ่  ได้แก่  เก้าอี้  โต๊ะ  ชั้นวางหนังสือ  ทำด้ามไม้กวาด ไม้เท้า คันเบ็ด ราวตากผ้า โครงสร้างบ้านส่วนต่างๆ ทำแคร่ นั่งร้านก่อสร้าง  ท่อส่งน้ำ    รางน้ำ ผลิตภัณฑ์จากเนื้อไม้ไผ่ ได้แก่  ถาดใส่ขนม   ทัพพีไม้    ตะเกียบ    ไม้เสียบอาหาร
 
กรอบรูป  ไม้ก้านธูป ไม้พาย ไม้เกาหลัง เครื่องดนตรี พื้นบ้าน ไม้บรรทัด
       
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากไผ่ซีกได้แก่  โครงโคมกระดาษ   โครงพัด  โครงร่ม  ลูกระนาด
 
คันธนู  พื้นม้านั่ง  แผงตากปลา  สุ่มปลา  สุ่มไก่
       5.
ประโยชน์ทางด้านการบริโภค เช่น การนำหน่อไม้ไผ่มาทำเป็นอาหาร ไม่ว่าจะเป็นซุบ แกง ต้ม หรือนำมาดองจิ้มน้ำพริก
ประโยชน์จากไผ่