วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

                                     น้ำยาเอนกประสงค์

 

การทำน้ำยาล้างจาน

น้ำยาล้างจาน 
น้ำยาล้างจาน เป็น สารเคมีที่ได้จากส่วนผสม ที่ เป็นสารมีขั้ว น้ำยาล้างจาน คือสารชำระล้าง (detergent) ที่ใช้ช่วยในการล้างจาน มีส่วนผสมของ
สารลดแรงตึงผิว (surfactant) ที่มีการระคายเคืองต่ำ ประโยชน์หลักของน้ำยาล้างจานคือใช้ล้างภาชนะและเครื่องครัวด้วยมือหลังจากประกอบหรือรับประทานอาหารแล้ว น้ำยาล้างจานทำให้สิ่งสกปรกและไขมันหลุดจากภาชนะและรวมตัวเป็นอีมัลชัน (emulsion) อยู่ในน้ำหรือฟอง (foam) เนื่องจากโมเลกุลของน้ำยาล้างจานประกอบด้วยส่วนที่มีขั้วและไม่มีขั้วเช่นเดียวกับผงซักฟอก ส่วนที่มีขั้วจะจับกับโมเลกุลของน้ำ และส่วนที่ไม่มีขั้วจะจับกับสิ่งสกปรกให้หลุดออก ในสมัยก่อนมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น สบู่ล้างจาน หรือ ครีมล้างจาน เนื่องจากเคยผลิตในรูปของสบู่และครีมมาก่อน ปัจจุบันน้ำยาล้างจานมีส่วนผสมอื่นรวมอยู่ด้วย เช่นน้ำมะนาวหรือชา ซึ่งเชื่อว่าเป็นการช่วยให้ภาชนะสะอาดมากขึ้นและถนอมมือมากกว่าเดิม
สารเคมีและองค์ประกอบ                                                                                                                     
ส่วนประกอบ

1.N 70                   1                   กก.
2.น้ำเกลือ              2                   ลิตร
3.กรดมะนาว        10                  กรัม
4.สีเหลือง                            ปลายช้อนชา
5.น้ำหอม               10                  CC.
6.สารกันเสีย          10                  CC.
7.น้ำด่าง              7-8                    ลิตร
ปล. N 70 มาจาก Texapon มีชื่อทางเคมีว่า SODIUM lAURYLETHER SULFATE เป็นสารประเภท สารลดแรงตึงผิวประจุลบ
คุณสมบัติ
ืคือเป็นสารชำระล้าง คือ สารที่สามารถ นำเอาอนุภาค ที่ติดฝังอยู่ ที่ภาชนะหรือสิ่งของ ที่ต้องการจะนำเอาออกไปโดยใช้หลัก การดึงระหว่างสารขั้วบวกและขั้วลบ
ส่วน​ผสม 
  • N70 (หัวแชมพู)                     1     ​กิ​โลกรัม
  • F24 (สารขจัดคราบไขมัน)      1/2  ​กิ​โลกรัม
  • เกลือ​                                    1-1.5 ​กิ​โลกรัม
วิธีทำ
  1. ต้มเกลือ​โดย​ใช้​น้ำ​ 2-3 ​ลิตร​ ​จนเกลือละลายหมด​ ​ตั้ง​ไว้​จนเย็น
  2. เอา​ N 7O ​ผสม​กับ​ F 24 ​กวน​ให้​เข้า​กัน​ ​ราว​ 10 ​นาที
  3. ค่อยๆ​เทน้ำ​เกลือลงไปทีละน้อยๆ​ ​แล้ว​กวน​ให้​เข้า​กัน​ ​จนหมด
  4. หลัง​จาก​นั้น​ ​เติมน้ำ​ลงไป​และ​กวนเรื่อยๆ​ ​โดย​ใช้​น้ำ​ประมาณ​ 10-15 ​ลิตร​ ​ทั้ง​นี้​ให้​สังเกตว่า​ ​ความ​ข้นของน้ำ​ยาอเนกประสงค์​ ​หาก​ยัง​ข้น​หรือ​เหนียวมาก​ ​ก็​สามารถ​เติมน้ำ​เปล่า​ ​ลงไป​ได้​อีก​ ​จนเห็นว่า​ ​ได้​ความ​ข้นที่​เหมาะสม
  5. ใส่​หัวน้ำ​หอม​ ​กวน​ให้​เข้า​กัน​ ​แล้ว​ตั้งทิ้ง​ไว้​จนฟองยุบ​(1 ​คืน) ​แล้ว​ตัก​ใส่​ขวดเอา​ไว้​ใช้
นอก​จาก​นี้​ ​อาจ​จะ​ใช้​น้ำ​ผลไม้​เปรี้ยว​ ​หรือ​น้ำ​หมัก​จาก​ผลไม้​เปรี้ยวทดแทนน้ำ​ได้​บ้าง​
 ​ไม่​ยาก​ใช่​มั๊ยครับ​ ​ตอนที่ผมทำ​ผม​ใช้​ส่วน​ผสมครึ่งหนึ่งของสูตรนี้ก็​ได้​น้ำ​ยาล้างจานประมาณ​ 10 ​ลิตร​ ​ด้วย​เงินลงทุน​ 55 ​บาท​ ​แจกคน​ใน​ละ​แวก​ใกล้ๆ​ ​บ้านจนหมด​ ​ผลตอบรับที่กลับมา​เป็น​เสียงเดียว​กัน​ว่า​ "ดีกว่าน้ำ​ยาล้างจานยี่ห้อ​..." ​ไม่​พูด​ถึง​นะครับว่ายี่ห้ออะ​ไร
เห็นมั๊ยครับว่า​ถ้า​สามารถ​ทำ​เอง​ได้​ประหยัดกว่าซื้อตั้งเยอะ​ ​เรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงอย่าทำ​ให้​เป็น​เรื่องยาก​ ​ถ้า​อันไหนที่ทำ​แล้ว​สามารถ​พึ่งตัวเอง​ได้​ก็​เป็น​ส่วน​หนึ่งของเศรษฐกิจพอเพียง​แล้ว​ครับ​ ​อีกอย่างคุณก็​จะ​เป็น​ "คนมีน้ำ​ยา​"
ปล​. ​สำ​หรับใครที่ทราบว่า​ N70, F24 ​มีชื่อเต็มๆ​ ​ว่าอย่างไร​ช่วย​บอกผมหน่อยนะครับ​ ​ลืมถามอาจารย์​ ​ค้น​ก็​ไม่​เจอ

อาหารจากสมุนไพร

เครื่องปรุงน้ำยำประกอบด้วย:-
น้ำบูดู ๑/๒ ถ้วย (ใครหาน้ำบูดูไม่ได้จริงๆ ลองใช้น้ำปลาอย่างดีทำดูก็ได้ เพราะน้ำบูดู เค้าหมักปลากับเกลือเหมือนน้ำทำน้าปลา หรือใครจะลองใช้น้ำปลาร้าทำดูก็น่าจะได้นะ)น้ำสะอาด ๑ ถ้วยตวง (ใครจะเพิ่มลดน้ำก็ได้ ขึ้นอยู่กับน้ำบูดูที่ใช้ว่าเค็มมากน้อยแค่ไหน)น้าตาลทรายแดง ๑/๔ ถ้วยตวง (ใครมีน้ำตาลโตนดให้ใช้น้ำตาลโตนด ๒ ฝา หรือใครจะเพิ่มน้ำตาลทรายแดงเป็น ๑/๒ ถ้วยก็ได้จะได้ข้นเร็วขึ้น)ตะไคร้ ๑ ต้น
ใบมะกรูด ๓ - ๔ ใบ
ข่าทุบ ๒ แว่น (ของเราไม่มีก็ใช้ข่าผงแทน ๑/๒ ช้อนโต๊ะ)
***สูตรนี้ทำได้หลายจานเพราะเราทำครั้งเดียวและเก็บไว้ทานวันอื่นๆด้วย***
 เริ่มทำก็ตวงน้ำบูดู น้ำสะอาด น้ำตาล ใส่หม้อตั้งไฟอ่อนๆ แล้วทุบตะไคร้หั่นเป็นท่อนๆใส่ลงไป ฉีกใบมะกรูดใส่ลงไป และใส่ข่าลงไปด้วย
เคี่ยวน้ำยำไปเรื่อยๆจนน้ำข้นเหนียว ก็ปิดไฟได้

ทิ้งไว้ให้น้ำยำเย็นก็ใช้ผ้าขาวกรองเอาแต่น้ำ หรือใครมีกระชอนตาถี่มากๆก็ใช้แต่กระชอนกรองก็ได้
น้ำยำที่กรองเสร็จแล้ว ถ้าใครทำมากก็เทใส่ขวดเก็บไว้ได้

ต่อมาก็เตรียมผักประกอบข้าวยำ
อันนี้ใครจะใช้ผักอะไรก็ได้ตามที่จะหาได้ อย่างเช่น
แตงกวาซอยยาว ถั่วงอก ถั่วฝักยาวหรือถั่วแขกซอยบางๆ กระหล่ำปลี่หั่นฝอย ใบมะกรูดซอย ดอกดาหราซอย สะตอ ไม่มีก็ใช้ เมล็ดกระถินได้ มะม่วงซอย หรือ แอปเปิ้ลเขียวซอย ก็ได้
ตะไคร้ซอย ใบชะพลูซอย ส้มโอ แครอทขูดฝอย เป็นต้น
อย่างของเราวันนี้ ก็มี แตงกวา ถั่วแขก ตะไคร้ กะหล่ำปลี แครอท มีมะนาวอีกอย่าง

เครื่องปรุงอื่นๆประกอบข้าวยำ ได้แก่
กุ้งแห้งป่นละเอียด
ปลาทะเลต้มสุก แกะเอาแต่เนื้อยีละเอียด แล้วคั่วในกระทะให้แห้ง
มะพร้าวขูดคั่วให้เหลืองกรอบ พริกป่น
ถ้าใครไม่มีอย่างข้างต้นก็ใช้อย่างอื่นแทนได้ อย่างของเราที่ใช้ก็มี
มะพร้าวขูดคั่ว จมูกข้าวสาลี เมล็ดทานตะวันคั่ว ปลาชิงชังกรอบ เอาไปป่นให้ละเอียด พริกป่น
มะพร้าวคั่วไฟอ่อนๆ
ภาพเครื่องประกอบของเรา
มีน้ำข้าวยำ ผัก และเครื่องประกอบครบแล้ว ก็ทานได้
โดยตักข้าวสวยนิดหน่อยใส่จาน ใส่ผักที่มีลงไป เราวางไว้รอบๆข้าว อย่างนี้

สรรพคุณของสมุนไพรในการทำข้าวยำ
ตะไคร้ [Lemongrass] : ควรเลือกซื้อตะไคร้ที่ฐานบริเวณลำต้นอวบอ้วนและมีสีม่วงอ่อน เวลาใช้ต้องควรปอกเปลือกข้างนอกออกจนกระทั่งเห็นเนื้อข้างในที่มีสีชมพู สรรพคุณของตะไคร้คือช่วยในส่วนการย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ และช่วยบรรเทาอาการอาเจียน นอกจากนั้นยังช่วยลดความดัน และไล่แก๊ส ตะไคร้ยังใช้เป็นยาบรรเทาอาการเป็นไข้ และลดอาการปวดท้อง
หอมแดง [Shallots] : หอมแดงที่มีผิวสีม่วงอมแดง ให้กลิ่นที่แรงกว่าหอมแดงที่มีผิวสีออกเหลืองอ่อนซึ่งจะมีรสออกหวานกว่าเล็กน้อย สรรพคุณของหอมแดงช่วยไล่แก๊ส ขับปัสสาวะ และช่วยรักษาอาการไข้
มะกรูด [Kaffir Lime] : เป็นพืชที่มีกลิ่นที่หอมมากโดยเฉพาะใบของต้นมะกรูด ซึ่งในการประกอบอาหารสามารถนำใบมะกรูดไปหั่นซอยให้เป็นชิ้นเล็กๆ หรือฉีกเพื่อเติมลงไปในอาหารก็ได้ นอกจากนั้นยังสามารถนำไปผสมในการทำเครื่องแกงได้อีกด้วย สรรพคุณของมะกรูดคือ ช่วยไล่แก๊สและบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ น้ำมะกรูดยังใช้เป็นยารักษาโรคลักปิดลักเปิด
มะนาวมีประโยชน์ใช้เป็นยาสมุนไพร ขับเสมหะ แก้ไอ เลือดออกตามไรฟัน เหงือกบวม นอกจากนี้ยังช่วยแก้อาการปวดศีรษะ แก้อาเจียน เมาเหล้า ขจัดคราบบุหรี่ บำรุงตา บำรุงผิว และยังสามารถมีฤทธิ์ในการกัดด้วยเป็นต้น
ใบชะพลู : รสเผ็ดร้อน เจริญอาหาร ขับเสมหะ ทำเสมหะให้งวด ทำให้เลือดลมซ่าน